Tag Archives: แคตตาไลติค

โครงสร้างภายในแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์

ภายในแคตาไลติคคอนเวอร์เตอร์จะมีสาร PGM (Platinum group Metal) ซีงได้แก่ แพลทินัม (platinum) แพลเลเดียม (palladium) โรเดียม (rhodium) และรูทีเนียม (ruthenium) สารใดสารหนึ่ง หรืออาจใช้สาร 2 ชนิดผสมกันก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ แพลทินัมผสมกับโรเดียม สารเหล่านี้จะเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ อยู่ภายในผนังของช่องภายในรังผื้งที่ทำด้วยเซรามิก เมื่อแก๊สไอเสียไหลผ่านสารเหล่านี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และแก๊สไนโตรเจน

แคตาไลติคคอนเวอร์เตอร์จะทำงานได้ดีที่สุดถ้าอุณหภูมในตัวมันอยู่ระหว่าง 400-800 C และอัตราส่วนผสมที่ใช้ในการเผาไหม้นั้นจะต้องใกล้เคียงกับอัตราส่วนผสมทางทฤษฏี (14.7 : 1) มากที่สุด เพื่อที่จะรักษาให้ได้อัตราส่วนผสมนี้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งออกซิเจนเซนเซอร์ บางครั้งเรียกว่า แลมป์ดาซอนด์ หรือแลมป์ดาเซนเซอร์เข้าไป เพื่อทำหน้าที่ตรวจจับความหนาแน่นของออกซิเจนที่ปนมากับแก๊สไอเสีย แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์นอกจากจะทำหน้าที่ฟอกไอเสียแล้ว ยังทำหน้าที่ลดเสียงดังของไอเสียลงได้อีกระดับหนึ่ง

หมายเหตุ  รถยนต์ติดตั้งแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์จะทให้กำลังของเครื่องยนต์ลดลงไปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ